แอ่วเมืองเหนือ

แหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือ

แหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือ

ชื่ออุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ภาคเหนือ จังหวัดกำแพงเพชร

สถานที่ตั้ง ตำบลปางตาไว อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

สิ่งดึงดูดใจ
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ แก่งผานางคอย เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ มีน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ มีจุดชมวิวอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ ๘๑จากที่ทำการของอุทยาน ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่เห็นทัศนียภาพที่กว้างไกลและ สวยงาม นอกจากนี้ยังมีช่องเย็นกิโลเมตรที่ ๙๓ และยอดเขาโมโกจูซึ่งถือเป็นยอดเขาที่สูงสุด เป็นต้น

สิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
มีบ้านพักขนาดใหญ่ ๓ หลัง สามารถพักได้ตั้งแต่ ๓๕ – ๔๕ คน

เส้นทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข ๑๑๑๖ ถึงหลักกิโลเมตร ๓๔๖ ไปตามเส้นทาง คลองลาน – อุ้มผางถึงจุดแยกเข้าอุทยานให้ตรงไปอีก ๑๙ กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

 

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร     สถานที่ตั้ง ตำบลในเมือง และตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
สิ่งดึงดูดใจ
ระวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ให้เป็น เมืองมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย สิ่งที่น่าสนใจแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
บริเวณภายในกำแพงเมืองเก่า มีโบราณสถานและสิ่งที่น่าสนใจคือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ กำแพงเมืองและป้อม ศาลพระอิศวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์เมืองกำแพงเพชร
บริเวณนอกกำแพงเมืองเก่า เรียกกันว่าเขตอรัญญิก มีโบราณสถานทางศาสนาขนาดใหญ่และสวยงามน่าสนใจจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ วัดช้างรอบ วัดพระสี่อิริยาบถ วัดอาวาสใหญ่ วัดนาคเจ็ดเศียร วัดพระนอนซึ่งมีเสาพระวิหารเป็นเสาศิลาแลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก บ่อศิลาแลง เป็นต้น

สิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
๑. ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่บริเวณหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๒. ศาลาพักผ่อนอิริยาบถ
๓. เส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างสถานที่สำคัญ และหนทางเข้า-ออก อุทยานประวัติศาสตร์เป็นถนนลาดยางทั้งหมด

เส้นทางเข้าสู่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
จากวงเวียนสี่แยกเชิงสะพานฝั่งกำแพงเพชร ตามเส้นทางเข้าสู่ศาลากลางจังหวัด เลี้ยวซ้ายตามถนนสายกำแพงเพชร-อำเภอพรานกระต่าย ประมาณ ๒๐๐ เมตรถึงศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่ ๑ เดินทางต่อไปตามเส้นทางสายเดิม ประมาณ๔๐๐ เมตรถึงทางแยกซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายตามทางแยกอีกประมาณ ๒๐๐ เมตร ถึงอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ส่วนที่ ๒

 

 ดอยตุง

     สถานที่ตั้ง ดอยตุง เป็นภูเขาลูกหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มดอยสามเส้า ซึ่งมีภูเขาสำคัญๆ ได้แก่ ดอยปู่เจ้า ดอยย่าเจ้า (ย่าเฒ่า) ดอยดินแดง นอกจากนี้มีดอยบริวารอีกเช่น ดอยทา ดอยเกตุบรรพต และดอยตายสะ ปัจจุบันเรียกรวมๆ กันว่า ดอยตุง (ดอยทุง หรือดอยธง) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแดนลาวบริเวณอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๕๐๐-๑๗๕๐ เมตร

สิ่งดึงดูดใจ
วัดพระธาตุดอยตุงมีเจดีย์บรรจุพระมหาชินธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย พระตำหนักของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าอะข่า ลาหู่ ลีซอ กระเหรี่ยง ฯลฯ

สิ่งอำนวยความสะดวกในดอยตุง
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกในการเดินทางในการทัศนศึกษาสภาพความเป็นอยู่และแหล่งธรรมชาติตามสถานที่ต่างๆ บนดอยตุง

เส้นทางเข้าสู่ดอยตุง
จากถนนพหลโยธิน (เชียงราย-แม่สาย) ประมาณกิโลเมตรที่ ๘๗๐ บ้านห้วยไคร้ มีถนนลาดยางแยกเข้าไปทางทิศตะวันตก เลียบไหล่เขาขึ้นไปจนถึงพระตำหนักและวัดพระธาตุดอยตุง ระยะทางรวมประมาณ ๑๔ กิโลเมตร

สามเหลี่ยมทองคำ บ้านสบรวก    

สถานที่ตั้ง สามเหลี่ยมทองคำเป็นชื่อใหม่ที่ตั้งขึ้นเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่บ้านสบรวก ตำบลเวียงอำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำรวกจากพม่าไหลลงสู่แม่น้ำโขง ห่างจากตัวอำเภอเชียงแสนขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๘ กิโลเมตร ก่อนแม่น้ำทั้งสองจะบรรจบกัน ลำน้ำได้ขนาบแผ่นดินของประเทศพม่าให้แคบลงๆ จนกลายเป็นแหลมเล็กๆ บริเวณนี้จึงเป็นจุดที่แผ่นดินของสามประเทศมาพบกัน คือ ไทย พม่า และลาว

สิ่งดึงดูดใจ
สามเหลี่ยมทองคำมีทัศนียภาพที่สวยงาม มีอากาศดีเพราะเป็นที่โล่งกว้างสามารถมองเห็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก ซึ่งมีสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน

สิ่งอำนวยความสะดวก
มีร้านค้าของที่ระลึก ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรมชั้นดี และเกสต์เฮาส์ ตั้งแต่จุดที่ตรงกับสบรวก เรียงรายตามถนนลงมาทางใต้เป็นระยะทางกว่า ๑ กิโลเมตร

เส้นทางเข้าสู่สามเหลี่ยมทองคำ
สามารถเดินทางจากเชียงราย ผ่านอำเภอแม่จันไปยังอำเภอเชียงแสนเป็นระยะทาง ๖๒ กิโลเมตร และจากเชียงแสนขึ้นไปอีก ๘ กิโลเมตร มีรถโดยสารบริการตลอดวัน อีกด้านหนึ่งสามารถเดินทางจากอำเภอแม่สายถึงบ้านสบรวก เป็นระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร

 อุทยานแห่งชาติออบหลวง

สถานที่ตั้ง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

สิ่งดึงดูดใจ
เป็นช่องเขาขาดเพราะถูกแม่น้ำแม่แจ่มกัดเซาะจนทะลุลึกลงไปเรียกว่า ออบ ก่อนถึงบริเวณที่เป็นออบ มีหาดทรายยาว บนสันเขาขาดมีสะพานทอดจากด้านที่ติดถนนข้ามไปยังด้านที่เป็นภูเขาสูง มีร่องรอยการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ภาพเขียนโบราณ โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับต่าง ๆ

สิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานแห่งชาติออบหลวง
มีสำนักงานอุทยานแห่งชาติออบหลวงคอยดูแลให้ความรู้ และความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว มีที่จอดรถและสามารถใช้สถานที่ภายในอุทยานเป็นที่พักค้างคืนได้ด้วย

เส้นทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติออบหลวง
จากตัวเมืองเชียงใหม่เดินทางไปตามถนนสายฮอด-แม่สะเรียง จนถึงกิโลเมตรที่ ๑๗

ถ้ำหลวงเชียงดาว

สถานที่ตั้ง ถ้ำหลวงเชียงดาว มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดอยอ่างสลุงเชียงดาว อยู่ที่บ้านเมืองเชียงดาวตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากเมืองเชียงใหม่ประมาณ ๗๗ กิโลเมตร

สิ่งดึงดูดใจ
ถ้ำหลวงเชียงดาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมาเป็นระยะเวลานาน เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพราะเป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม และบริเวณรอบ ๆ เป็นป่าสมบูรณ์ สิ่งดึงดูดใจ ได้แก่ความงามภายในถ้ำเชียงดาว เมื่อผ่านบันไดทางเข้าไปจะมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยและแยกสาขาออกไปจากถ้ำหลวงเช่น ถ้ำม้า ถ้ำพระนอน ถ้ำแก้ว และมีทางแยกไปถ้ำเสือดาวและถ้ำน้ำ ซึ่งทั้งสองถ้ำนี้อยู่ลึกเข้าไปไฟฟ้าไปไม่ถึง
ส่วนหินงอกหินย้อยก็มีรูปแปลกตา เช่น ถ้ำม้าก็มีหินรูปม้า หินรูปดอกบัวตูม รูปพญาสิงห์โต พญาครุฑรูปช้างสามเศียร รูปนกเค้าแมว รูปน้ำตก ที่พักฤาษี หินรูปดอกบัวบาน หินนอแรด หินม่านไทรย้อย หินรูปไก่ฟ้า หินรูปโคมไฟเทวดา หินดอกบัวพันชั้น ซุ้มฤาษี
ถ้ำแก้ว อยู่ติดกับถ้ำม้ามีหินงอกหินย้อยในรูปลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ หินเจดีย์เจ็ดชั้น หินน้ำตกสามสี หินรูปกุหลาบพันปี หินนางมณโฑนมโตข้างเดียว
ถ้ำน้ำเป็นถ้ำที่อยู่ลึกเข้าไปจากถ้ำพระนอนประมาณ ๔๐ เมตร จะมีแอ่งน้ำขังอยู่ตลอด แล้วแต่ฤดูหากเป็นหน้าฝนน้ำจะมีมากจนถึงผนังถ้ำ และน้ำที่ถ้ำนี้จะไหลลอดใต้ถ้ำออกมาที่สระน้ำหน้าถ้ำอีกทีหนึ่ง
ส่วนถ้ำหลวงจะอยู่ตรงปากทางเข้าถ้ำ บริเวณนี้จะมีพระพุทธรูปและสิ่งก่อสร้างหนาแน่นกว่าถ้ำส่วนอื่น และมีปล่องที่มีแสงแดดลอดเข้ามาได้ จึงเรียกส่วนนี้ว่า ปล่องสว่าง ตัดเข้าไปจึงจะเป็นถ้ำพระนอน คือส่วนที่มีพระพุทธรูปนอนประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าถ้ำจะมีศาลาทรงล้านนา สระน้ำและลำธาร ซึ่งน้ำไหลลอดใต้ถ้ำออกมา มีปลาหลายชนิดเป็นจำนวนมาก

สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว
ถ้ำหลวงเชียงดาว นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแล้ว ยังเป็นปูชนียสถานทางพุทธศาสนาที่มีการบูรณะ และดูแลรักษามาเป็นระยะเวลายาวนาน ปัจจุบันจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางไปชมเป็นจำนวนมาก การเข้าไปถึงบริเวณถ้ำหลวงก็มีถนนหนทางสะดวกราดยางตลอดจนถึงหน้าวัดบริเวณปากทางเข้าจะมีที่จอดรถท่องเที่ยว ในถ้ำก็มีไฟฟ้าส่องสว่างตั้งแต่ปากทางเข้าไป มีการบริการนำชมถ้ำและทางวัดจัดให้มีการขายดอกไม้ธูปเทียน จัดให้มีร้านขายของที่ระลึก พืชสมุนไพร อาหารปลา อาหารเครื่องดื่ม และผลผลิตของชุมชน มีห้องสุขาและบริการโทรศัพท์สาธารณะ

เส้นทางเข้าสู่ถ้ำหลวงเชียงดาว
เดินทางโดยรถยนต์ไปตามถนนเชียงใหม่-ฝาง ทางหลวงหมายเลข ๑๐๗ จากอำเภอเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอแม่ริม แม่แตง ถึงอำเภอเชียงดาวระยะทางประมาณ ๗๒ กิโลเมตร เลยตลาดไปเล็กน้อยจะมีทางแยกจากถนนใหญ่ทางด้านซ้ายมือไปทางทิศตะวันตกอีกประมาณ ๕ กิโลเมตร ถึงถ้ำหลวงเชียงดาว

                                                                                         และอื่นๆๆๆ…………^^

ประวัติความเป็นมาของเมืองเหนือ

                                    ประวัติความเป็นมาของเมืองเหนือ   

            บริเวณภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทยซึ่งรวมไปถึง ดินแดนบางส่วนของประเทศพม่า จีน ลาว เคยเป็นที่ตั้งของชนกลุ่มหนึ่งที่มีการปกครองเป็นแคว้นอิสระ ในชื่อที่เรียกกันว่า ล้านนากลุ่มบ้านเมืองกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันทั้งในทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี และศิลปวัฒนธรรม มีเมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และมีความเจริญรุ่งเรืองมากในช่วง พุทธศตวรรษที่ 20-21 และได้เสื่อมสลายลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 แต่ได้พยายามกอบกู้เอกราชได้บ้างเป็นครั้งคราว จนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ได้ตกเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงรัตนโกสินทร์และได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศสยาม

ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ

ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ

 ลักษณะภูมิประเทศ
   ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศที่พื้นที่เป็นภูเขามากกว่าทุกภาค
ซึ่งเป็นร้อยละ 78 ของพื้นที่ทั้งหมดในภาคเหนือ
  สามารถแบ่งเขตภูมิลักษณ์ได้ 3 เขต

1.เขตทิวเขาและภูเขา

2.เขตที่ราบและหุบเขา         

3.เขตแอ่งที่ราบ

ลักษณะภูมิประเทศทิวเขาและภูเขา

  • ·  ทิวเขาแดนลาว

เป็นทิวเขาทอดตัวยาวอยู่แนวตะวันตก-ตะวันออก กันพรมแดน ระหว่างไทยกับพม่า รวมความยาว 250กิโลเมตร ยอดทิวเขาสำคัญ ดอยตุง สูง 1356 เมตร  ดอยผ้าห่มปก 1456 สูง เมตร และ ดอยอ่าวขาง สูง 1918 เมตร เป็นที่กำเนิดแม่น้ำปิง

  • ·  ทิวเขาถนนธงชัย

เป็นทิวเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ทอดตัวยาวเหนือมาใต้ แนวระหว่าง ไทยกับพม่า วางตัวทอดลงมาในเขตแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ มียอดเขา สูงสุดคือ ดอยดิอินทนนท์ สูง 2580 เมตร

  • ·  ทิวเขาผีปันน้ำ

เป็นทิวเขาที่ที่แบ่งน้ำเป็น2ทิศคือไหลสู่ทิศเหนือสู่แม่น้ำโขงทิศใต้ไหล สู่แม่น้ำปิง วัง ยม น่านมีความยาวทั้งหมด 475 กิโลเมตร มียอดเขาคือดอย แม่โถ สูง 1767 เมตร และดอยขุนตาล สูง 1348 เมตร

  • ·  ทิวเขาหลวงพระบาง

เป็นทิวเขาที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของภาคเหนือ เป็น พรมแดนกั้นไทยกับลาว มีความยาวทั้งหมด 50 5เมตร มียอด เขาสูงสุดคือภูเมียงอยู่ในประเทศลาว เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน

ลักษณะภูมิประเทศที่ราบและหุบเขา

  • ที่ราบแม่น้ำปิง

เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของภาคเหนือ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

  • ที่ราบแม่น้ำวัง

เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญอีกแล่งหนึ่งของาคเหนือ อยู่ในจังหวัดลำปาง

  • ที่ราบแม่น้ำยม

เป็นอยู่ระหว่างทิวเขาผีปันน้ำ ในจังหวัดแพร่

  • ทีราบแม่น้ำน่าน

เป็นแล่งการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดในภาคเหนือ คือจังหวัดน่านและอุตรดิตถ์

  • ที่ราบแม่น้ำยวน

เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ อยู่ในเขตอำเภอขุนยวนอำเภอลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • ที่ราบแม่น้ำกก

เป็นราบลุ่มแคบๆ อยู่ในเขตอำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอ เมืองเชียงราย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

  • ที่ราบแม่น้ำอิง

อยู่ติดกับที่รายแม่น้ำกก อยู่ในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย อำเภอเทิง จังหวัด แม่ฮ่องสอน

  • ที่ราบแม่เมย

เป็นเส้นพรมแดนก้นระหว่างไทยกับพม่า เป็นที่ราบแคบ เป็นที่ราบแคบๆในเขต อำเภอแม่สะเพียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • ที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง

เป็นที่ราบแคบ อยู่ในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่

ลักษณะภูมิประเทศแอ่งที่ราบ

  • แอ่งแม่น้ำแจ่ม

เป็นแหล่งที่ราบขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่แจ่ม

  • แอ่งแม่น้ำตื่น

เป็นที่ราบส่วนอยู่ส่วนใต้ของทิวเขาถนนธงชัยในจังหวัด เชียงใหม่ อำเภออมก๋อย

  • แอ่งน้ำฝาง

เป็นที่ราบส่วนอยู่ส่วนใต้ของทิวเขาถนนธงชัยและด้านทิศ ตะวันตกทิวเขาผีปันน้ำ

  • แอ่งแม่งัด

เป็นที่ราบที่มีดินอุดมสมบูรณ์มาก ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

  • แอ่งลำปาง

เป็นที่รายที่ยาวที่สุดของภาคเหนือ ตั้งอยู่ใหจังหวัดลำปาง

รูปถ่ายสวยๆๆ ของเมืองเชียงใหม่

รูปถ่ายเมืองเชียงใหม่


เชียงใหม่ ดอยสุเทพ

 

 

 

 

 

ดอยอินทนนท์

วัฒนธรรมและประเพณี ของภาคเหนือ

วัฒนธรรมและประเพณี ของภาคเหนือ

ประเพณียี่เป็ง  

 

    ประเพณี “ยี่เป็ง” เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” ตรงกับคำว่า “เพ็ญ” หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ เดือน 2 ของไทยล้านนา  ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น “วันดา”  หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด  ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ  ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผาง  ปะติ๊ด)  เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

 ประเพณีลอยโคม

              งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว

ประเพณีแห่สลุงหลวง

          ประเพณีที่งดงามของชาวล้านนาจังหวัดลำปางที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ในงานจะมีการแห่สลุงหลวงหรือขันน้ำตามประเพณีโบราณไปรอบเมือง เพื่อรับน้ำขมิ้นส้มป่อยจากประชาชนไปสรงแด่พระแก้วดอนเต้า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

ประเพณีแข่งเรือล้านนา

              ประเพณีแข่งเรือล้านนาจะถูกจัดขึ้น ณ ลำน้ำน่านทุกปี ในระยะ    หลังเทศกาลออกพรรษา ประมาณปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน นอกจากเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อเชื่อม ความสามัคคีแล้วยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี การแข่งเรือแบบล้านนาในงานจะมีการแข่งขันเรือหลายประเภทคือ เรือใหญ่ เรือกลาง และเรือสวยงาม โดยเรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องแต่งหัวเรือเป็นรูปพญานาค เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเรือแข่งจังหวัดน่าน นอกจากนั้นจะมีการตีฆ้อง ล่องน่าน-ตีตานแข่งเรือ ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัด   

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จะจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เหนือ) ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทางภาคกลางชาวบ้านจะพากันเดินทางมาสรงน้ำเพื่อสักการะพระธาตุหริภุญชัย   ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยน้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนั้น ชาวลำพูนมักขึ้นไปตักจากบ่อน้ำทิพย์บนยอดดอยขะม้อ   ซึ่งชาวลำพูนเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์        

ประเพณีบูชาอินทขีล

              เป็นประเพณีประจำปีของชาวเชียงใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานความเชื่อถือผีดั้งเดิมและพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลังเพื่อเป็นการสรงน้ำเสาหลักเมืองและสรงน้ำถวายพระเจ้าฝนแสนห่าองค์ประธานในพิธีและเพื่อเป็นการสร้างขัวญกำลังใจของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาแต่เดิมในยามบ่ายจะพากันเตรียมดอกไม้เครื่องบูชามาจัดเรียงใส่ในตะกร้าเพื่อทำการใส่ขันดอกหรือการถวายดอกไม้บูชาอินทขีลที่บริเวณหน้าวิหารของวัดเจดีย์หลวง ซึ่งจะประดิษฐาน พระเจ้าฝนแสนห่า ไว้ให้ประชาชนบูชาเป็นการชั่วคราวหลัง จากการแห่ไปตามถนนในเมืองเชียงใหม่ก่อนกลับวัดเจดีย์หลวงเพื่อประกอบพิธีสรงน้ำ ใส่ขันดอกเมื่อเสร็จพิธีก็จะมีมหรสพสมโภชเช่นเดียวกับงานบุญอื่น ๆ

ประเพณีเลี้ยงผี

 

           เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ จนถึงเดือน 8 ของทุกๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อถึงวันทำพิธี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปถวายผีบรรพบุรุษของตน  โดยจะทำพิธีแยกออกเป็น 2 แบบ คือการเลี้ยงผีผู้ที่ตายไปแล้ว โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผีมด” และ”ผีเม้ง”   

วัฒนธรรมประเพณีพม่าในล้านนาไทย

          ตลอดระยะเวลาที่พม่าปกครองล้านนาไทยเป็นเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ นั้น พม่าได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีของตนเข้ามาเผยแพร่ในล้านนา ไทยหลายด้าน ทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ความเชื่อ การแต่งกาย อาหาร ฯลฯ ทางด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น เจดีย์ในเชียงใหม่หลาย วัดสร้างตามแบบเจดีย์พม่า ประเพณีการสร้างรูปสิงห์ตามวัดต่างๆ นิยมสร้างตาม ประเพณีพม่า ด้านปติมากรรมพบพระพุทธรูปแบบพม่าในวัดต่างๆ ในล้านนาไทยทั่วไป การที่คนล้านนาไทยนิยมบวชเณรมากกว่าบวชพระภิกษุนั้น เป็นประเพณีนิยมของพม่า อย่างหนึ่งเช่น การนิยมสักตามร่างกายเป็นประเพณีของพม่า ซึ่งคนพม่าถือว่าเด็กผู้ชายของพม่าจะถือว่าเป็น ฟ หนุ่มต่อเมื่อได้สักตามร่างกายแล้ว โดยสักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และเชื่อว่าทำให้คง 1 กระพัน ประเพณีการสักนี้ พม่านำเข้ามาใช้ในล้านนาไทยด้านศาสนา พม่าได้เอา 4 พุทธศาสนาหีนยานแบบพม่า เรียกว่า นิกายม่าน เข้ามา เผยแพร่ในล้านนาไทย แต่ 4 สันนิษฐานว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร แม้ว่าพม่าจะนำเอาพระสงฆ์เข้ามาและสร้างวัดพม่าก็ตาม ส่วนความนิยมและสิ่งที่พม่านำไปจากเชียงใหม่หรือล้านนาไทยนั้น สันนิษฐานว่าพม่าคงนำไปน้อยมาก เพราะคนพม่าที่เข้ามาปกครองล้านนาไทยนั้นมีจำนวนน้อยและอยู่ในฐานะผู้ปกครองล้านนา จึงไม่เลื่อมใสยกย่องวัฒนธรรมของคนที่ตนปกครองอยู่

อาหารภาคเหนือ

เมนูอาหารภาคเหนือ 

        อาหารภาคเหนือ  ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด  ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหารความหวาน  จะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ   เช่น  ผัก   ปลา และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร  
               คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง
          ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่   ขนมจีนน้ำเงี้ยว   ที่มีเครื่องปรุงสำคัญขาดไม่ได้ คือ  ดอกงิ้ว   ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง  ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม  หรืออย่าง  ตำขนุน  แกงขนุน  ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น   เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม

เมนูอาหาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนที่สถานที่ท่องเที่ยวทางภาคเหนือ

แผนที่สถานที่ท่องเที่ยวทางภาคเหนือของประเทศไทย

อุทยานแห่งชาติ

ในภาคเหนือเป็นดอยสูงสลับซับซ้อนหลายชั้น มีอุทยานแห่งชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น

  • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย จ.เชียงใหม่


  • อุทยานแห่งชาติเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์


  • อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล จ.ลำพูน-ลำปาง

  • อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก-เพชรบูรณ์

  • อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ จ.ตาก

  • อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์

  • อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จ.อุตรดิตถ์

  • อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก-เพชรบูรณ์

  • อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

  • อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จ.แม่ฮ่องสอน

  • อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน

  • อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จ.น่าน
  • อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน

 

ดนตรีพื้นบ้านทางภาคเหนือ

สะล้อ หรือ ทะล้อ

       สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิด เสียง ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ ๓ สาย

ซึง

เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง

ขลุ่ย

       ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่ง แต่จะเป็นเครื่องดนตรีที่คนไทยคิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เอง หรือได้รับอิทธิพลจากชาติอื่นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด เพราะชาติอื่นก็มีเครื่องเป่าซึ่งมีลักษณะคล้ายกับขลุ่ยของคนไทยเหมือนกัน เช่น ขลุ่ยของญี่ปุ่นเรียก ซากุฮาชิ ซึ่งใช้เป่าเหมือนกับขลุ่ยไทย ขลุ่ยของอินเดียเรียก มุราลี ส่วนของจีนก็มีก็มีขลุ่ยเช่นเดียวกันแต่ใช้เป่าด้านข้างเรียกว่า ฮวยเต็ก ถ้าเป็นแบบที่ใช้เป่าตรงแบบขลุ่ยไทยจะเรียกว่า โถ่งเซียว แต่จะต่างกันตรงที่ขลุ่ยของจีนไม่มีดาก การเป่าต้องใช้การผิวลมจึงจะเกิดเสียง
         ปัจจุบันขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทสำคัญ วงดนตรีหลายประเภทจึงขาดขลุ่ยไม่ได้เลยทีเดียว เช่น วงมโหรี วงเครื่องสายชิดต่างๆ วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
         เอกลักษณ์ที่สำคัญของขลุ่ยไทย คือการทำลายบนเลาขลุ่ยให้เป็นลวดลายต่างๆ ซึ่งการทำลายนั้นอาจมาจากใช้ความร้อนจากตะกั่วที่หลอมละลาย หรือการลนไฟ เป็นต้น เพื่อให้ขลุ่ยมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น เช่น ลายน้ำไหล ลายหกขะเมน ลายหิน ลายกระจับ ลายผ้าปูม ลายดอกจิก เป็นต้น แต่ถ้าผิวของไม้ไผ่ที่นำมาทำขลุ่ยสวยอยู่แล้วอาจไม่ต้องทำลวดลายก็ได้

ปี่

เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง

ปี่แน

     ปี่แน เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยใบตาล ซึ่งผ่านกรรมวิธี มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงกลองตึ่งนง วงพาทย์เมือง เป็นต้น มี 2 ขนาด ได้แก่
ขนาดเล็กนั้นเรียกว่าแนเล็ก โดยมีรูปร่างคล้ายปี่ชวาแต่มีขนาดใหญ่กว่า ขนาดใหญ่เรียกว่าแนหลวง มีรูปร่างคล้ายปี่มอญ

 พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ

 พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว

กลองเต่งถิ้ง

กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน

ตะหลดปด หรือมะหลดปด

ตะหลดปด หรือมะหลดปด  เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร

กลองตึ่งโนง

กลองตึ่งโนง  เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตร

กลองสะบัดชัยโบราณ

กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้ว นับหลายศตวรรษ

 

 

การแต่งกายของแม่ญิงล้านนา

ธรรมเนียมเกี่ยวกับการแต่งกาย

การแต่งกายของชาวล้านนา แม้จะเป็นชนกลุ่มใดก็ตาม ก็จะมีลักษณะร่วมกันอยู่โดยเฉพาะ
จะประกอบด้วยเครื่องนุ่งและเครื่องห่ม ซึ่งแม้ว่าเวลาจะผ่านเลย
นับตั้งแต่สมัยของพญามังรายมาจนถึงสมัยเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละแล้วก็ตาม
ก็ย่อมจะมีลักษณะไม่ต่างกัน ในแง่ของผ้าที่ทอขึ้นในท้องถิ่นและการใช้งานที่ไม่ต่างกัน
จึงน่าจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ในแง่ของรูปแบบและประเพณีนิยม
การแต่งกายของชายหญิงชาวล้านนามีลักษณะดังต่อไปนี้

การแต่งกายของเจ้านายในราชสำนักเชียงใหม่

 

การแต่งกายของชายหญิงในล้านนาโบราณ

เครื่องนุ่งห่มชาย

   เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม ชายชาวล้านนาโดยเฉพาะเชียงใหม่นิยมการสักขาลาย ซึ่งสับขายาว
จะเป็นการสักตั้งแต่เอวลงมาเสมอเข่าหรือต่ำกว่าเข่าเล็กน้อย ส่วนสับขาก้อม
จะเป็นการสักในช่วงเอวถึงกลางขาการสับหมึกคือการสักยันต์ด้วยหมึกดำ
กล่าวกันว่าหญิงสาวจะเมินชายหนุ่ม ที่ปล่อยสะโพกขาว เพราะถือว่าเป็นคนขี้ขลาด
ผ้านุ่งของชายเป็นผ้าพื้นซึ่งเป็นผ้าฝ้ายทอมือ เรียกว่า ผ้าตาโก้ง
คือผ้าลายดำสลับขาวซึ่งมีวิธีนุ่งสามแบบ คือ
๑. การนุ่งแบบปกติจะจับรวบตรงเอวแล้วเหน็บตรงกึ่งกลาง
มีบางส่วนเหลือปล่อยห้อยลงมาจากเอว
๒. อีกวิธีหนึ่งจับรวบเหน็บตรงเอว
ส่วนชายอีกด้านหนึ่งดึงไปเหน็บไว้ด้านหลังคล้ายกับนุ่งโจงกระเบน เรียกว่า นุ่งผ้าต้อย
๓. เป็นการนุ่งผ้าที่มุ่งความกระชับรัดกุมจนมองเห็นสะโพกทั้งสองข้างเผยให้เห็น
รอยสักได้ชัดเจนเรียกว่า เฅว็ดม่าม หรือ เฅ็ดม่าม ในเมื่อต้องการความกระฉับกระเฉง
สะดวกในการต่อสู้ ทำงาน ขุดดิน ทำไร่ ทำนา ขี่ควาย
    ในการนุ่งผ้าทั้ง ๓ แบบนี้ ส่วนบนจะเปลือยอก
ส่วนเตี่ยว หรือ กางเกงที่ใช้นุ่งนั้นมีรูปแบบคล้ายกับกางเกงจีนคือตัวโต เป้าหลวม
เมื่อตัดเย็บจะเห็นว่ามีแนวตะเข็บถึงห้าแนว จึงเรียกว่าเตี่ยวห้าดูก เตี่ยวนี้จะมีทั้งขาสั้น
(ครึ่งหน้าแข้ง) ที่เรียกเตี่ยวสะดอ และชนิดขายาวถึงข้อเท้าเรียกว่า เตี่ยวยาว
(มักเข้าใจกันว่าเรียกเตี่ยวสะดอทั้งขาสั้นและขายาว) เตี่ยวนี้ตัดเย็บจากผ้าฝ้ายทอมือ
แต่เจ้านายและผู้มีอันจะกินนั้น แม้เสื้อผ้าจะมีรูปแบบเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไปก็ตาม
แต่ก็มักเลือกสรรวัสดุที่ประณีต มีค่า ทั้งยังมีโอกาสใช้เส้นใยที่ทอจากต่างประเทศอีกด้วย

ส่วนกางเกงแบบสมัยใหม่เรียว่า เตี่ยวหลัง ชายชาวเชียงใหม่จะไม่สวมเสื้อ
แม้ในยามหนาวก็จะใช้ผ้าทุ้ม (อ่าน”ผ้าตุ๊ม”) ปกคลุมร่างกาย
ผ้าทุ้มนี้เป็นที่นิยมใช้ทั้งชายและหญิง สีของผ้าจะย้อมด้วยสีจากพืช เช่น คราม มะเกลือ
หรือ แก่นขนุน เป็นต้น สำหรับการสวมเสื้อนั้นมานิยมกันในตอนหลัง
    ซึ่งพบหลักฐานชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีลักษณะเป็นเสื้อคอกลมซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ
แบบแรก .. เป็นเสื้อคอกลมแขนสั้นหรือแขนยาวผ่าหน้าตลอด ผูกเชือก มีกระเป๋าปะทั้งสองข้าง   สีของเสื้อเป็นสีขาวตุ่นของใยฝ้าย มีบ้างที่ย้อมครามที่เรียกว่า หม้อห้อม
แบบที่สอง .. เป็นเสื้อคอกลมผ่าครึ่งอก ติดกระดุมหอยสองเม็ด มีกระเป๋าหรือไม่มีก็ได้
ประมาณรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชายชาวเชียงใหม่เริ่มนิยมนุ่งกางเกงแพรจีนสีต่างๆ หรือแพรปังลิ้น และนิยมสวมเสื้อมิสสะกีที่เป็นเสื้อตัดเย็บจากผ้ามัสลินหรือผ้าป่าน  ซึ่งมีลักษณะเป็นเสื้อคอกลม ผ่าครึ่งอก ติดบ่าต่อมหอยคือกระดุมหอยสองเม็ด
ผ่าเฉลียงระหว่างตัวเสื้อกับแขนเพื่อให้ใส่ได้สบาย มีกระเป๋าติดตรงกลางด้านล่าง
นอกจากนี้ยังมีเสื้อคอกลมหรือคอแหลมผ่าหน้าตลอดติดกระดุมหอย
ใช้วิธีการตัดเย็บเช่นเดียวกับเสื้อมิสสะกี แต่ที่พิเศษออกไปคือมีกระเป๋าทั้งสองข้าง
ที่เห็นแปลกออกไปบ้างคือเจ้านายบางท่านอาจนุ่งเตี่ยวโย้ง (กางเกงเป้ายานมาก)
สวมกับเสื้อมิสสะกี หรือเสื้อผ้าไหมสีดำตัดคล้ายเสื้อกุยเฮง ในบรรดาเจ้านายแล้ว
เสื้อผ้าที่ใช้ในโอกาสพิเศษหรือเป็นพิธีการจะนุ่งผ้าไหมโจงกระเบน เสื้อแขนยาวคล้าย
“เสื้อพระราชทาน” มีผ้าไหมคาดเอว ต่อมาได้มีการนิยมนุ่งผ้าม่วง สวมเสื้อราชปะแตน
สวมถุงเท้ายาวสีขาว พร้อมด้วยรองเท้าคัทชูสีดำเช่นเดียวกับทางกรุงเทพฯ

 

การจำลองการแต่งกายในสมัยโบราณ

เครื่องนุ่งห่มหญิง

    ผู้หญิงโดยเฉพาะเชียงใหม่นิยมเกล้ามวยสูงกลางศีรษะแล้วปักปิ่นหรือเสียบดอกไม้ประดับ การเปลือยอกของหญิงเป็นเรื่องธรรมดาในอดีต อาจจะมีเพียงผ้าสีอ่อนซึ่งมีวิธีใช้หลายอย่าง
เช่น การพันผ้าไว้ใต้ทรวงอกหรือปิดอก ใช้คล้องคอ ปล่อยชายผ้าไว้ด้านหน้าหรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลัง ใช้ห่มเฉียงแบบสไบเรียกว่าสะหว้ายแหล้งหรือเบี่ยงบ้าย
นุ่งผ้าซิ่นลายขวางยาวกรอมเท้าเรียกว่าซิ่นต่อตีนต่อแอว

องค์ประกอบของซิ่นมี ๓ ส่วนคือ

 หัวซิ่น ตัวซิ่น ตีนซิ่น ผ้าซิ่นแบบที่ใช้งานปกติเป็นตัวซิ่นที่ทอลายขวางเย็บตะเข็บเดี่ยว
สีของผ้าซิ่นจะย้อมด้วยสีจากพืชเป็นสีต่าง ๆ เช่น แดง ม่วง เป็นต้น และมีผ้าตีนสิ้น
คือเชิงผ้าซิ่นสีอื่นเช่นสีดำกว้างประมาณหนึ่งคืบมาต่อเข้ากับส่วนชาย
ส่วนผ้าที่นำมาต่อกับส่วนเอวแม้จะกว้างประมาณหนึ่งคืบแต่ก็มักใช้สีขาว
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนากี่กระตุกให้สามารถทอผ้าหน้ากว้างขึ้นในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ
คนจึงหันไปนิยมนุ่ง สิ้นตีนลวด
คือผ้าซิ่นที่ทอได้ตั้งแต่เชิงถึงเอวรวดเดียวโดยไม่มีการเย็บต่อเช่นที่ผ่านมา
และระยะนี้ยังเริ่มนิยมนุ่งซิ่นมีเชิงเป็น ลวดลายสลับสีซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมมาถึงปัจจุบันอีกด้วย  ทั้งนี้ในระดับผู้มีอันจะกินนั้น มักจะแต่งกายเลียนแบบเจ้านายทั้งในแง่รูปแบบเสื้อผ้าและทรงผมซึ่งเมื่อสามัญชนเห็นว่าสวยงามก็มักจะรับแบบอย่างไปแต่งบ้าง แต่เดิมนั้น หญิงสามัญชนชาวเชียงใหม่และตามชนบทอื่นๆ ไม่สวมเสื้อ แต่จะใช้ผ้าผืนยาว
คล้ายผ้าแถบ พันรอบอก หรือคล้องคอปล่อยชายปิดส่วนอก
หรือพาดไหล่ปล่อยชายทั้งสองข้างไปด้านหลัง แต่ผ้าด้านหน้าจะปิดคลุมทรวงอกหรือไม่ก็ได้  หรือจะห่มเฉียงที่เรียกว่าสะหว้ายแหล้งก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของผู้แต่ง
ถ้าหากอาศหนาวก็จะใช้ ผ้าทุ้ม อ่านว่า ผ้าตุ๊ม (ผ้าคลุมไหล่)
สำหรับเสื้อ เข้าใจว่าการสวมเสื้อคงจะเป็นความนิยมในระยะหลัง (ราวปลายรัชกาลที่ ๕)
เสื้อจะเป็นเสื้อที่ตัดเย็บจากผ้าทอด้วยมือ สีขาวตุ่น ซึ่งเป็นสีของฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง
รูปแบบของเสื้อมีหลายแบบคือ เสื้อคอกลม ตัวหลวม แขนกระบอกต่อแขนต่ำ ผ่าอกตลอด  ผูกเชือกหรือติดบ่าต่อมแต็บ (กระดุมแป๊บ) มีกระเป๋าทั้งสองข้าง เสื้อคอกลมตัวหลวม  แขนกระบอก ต่อแขนต่ำ ผ่าครึ่งอก ติดบ่าต่อมแต็บ

เสื้อชั้นใน

ถ้าเป็นผู้ใหญ่จะเป็นเสื้อคอกลมต่ำ เว้าแขน เย็บห้าตะเข็บ (ด้านหลังแยกเป็นสามเกล็ด)
เป็นเสื้อพอดีตัว เสื้อชั้นในไม่มีแขนเรียกว่าเสื้ออกหรือเสื้อบ่าห้อย
มีวิธีเย็บเหมือนกับเสื้อห้าตะเข็บ บางครั้งเมื่อแต่งตัวไปวัด
ผู้สูงอายุจะสวมเสื้ออกแล้วใช้ผ้าทุ้มห่มเฉียงบ่าอีกทีหนึ่ง
  เสื้อสำหรับเด็กหญิงสาว เสื้อชั้นในจะเป็นเสื้อ บ่าห้อย ซึ่งตัดเย็บต่างจากเสื้อห้าตะเข็บ
คือตัวหลวม จีบห่าง ๆ ทั้งด้านหน้าด้านหลังแล้วใช้ผ้ากุ๊นหรือต่อขอบตัวเสื้อด้านบน
ส่วนแขนใช้ผ้าผืนตรง กว้างประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง
หรืออาจจะใช้เส้นด้ายขึงให้มีขนาดเท่ากับแผ่นผ้า แล้วเย็บติดกับตัวเสื้อก็ได้

หมวก

ในแง่ของส่วนศีรษะนั้น เมื่อไปทำงานนอกบ้านแล้วชาวล้านนาจะทือกุบ (อ่าน”ตือกุบ”)
หรือ สุบกุบ คือ สวมหมวกตามลักษณะงาน
เช่นในการไปศึกก็จะทือ กุบเสิก ก็คือใส่หมวกปีกกว้างสำหรับออกศึก
เมื่อไปทำงานกลางแดดก็จะทือ กุบละแอ คือ สวมหมวกอย่างงอบปีกกว้าง หากหนาวนัก ทั้งเด็ก คนแก่และพระสงฆ์จะใส่ว่อมคือหมวกผ้าที่ไม่มีปีก
ส่วนผ้าโพกศีรษะผมที่เรียกว่าผ้าพอกหัวนั้น พบว่าผู้หญิงมักจะใช้เพื่อการกันแดดกันลม แต่ทั้งนี้บางเผ่าอาจมีตกแต่งผ้าโพกศีรษะให้มีลวดลายตกแต่งอย่างงดงาม
อันเป็นลักษณะเฉพาะกลุ่มก็มี และบางท่านอาจมีการแซมดอกไม้ไหวบนผ้าโพกอีกด้วย

การจำลองการแต่งกายในสมัยโบราณ

เครื่องนุ่งห่มหญิง

    ผู้หญิงโดยเฉพาะเชียงใหม่นิยมเกล้ามวยสูงกลางศีรษะแล้วปักปิ่นหรือเสียบดอกไม้ประดับ การเปลือยอกของหญิงเป็นเรื่องธรรมดาในอดีต อาจจะมีเพียงผ้าสีอ่อนซึ่งมีวิธีใช้หลายอย่าง
เช่น การพันผ้าไว้ใต้ทรวงอกหรือปิดอก ใช้คล้องคอ ปล่อยชายผ้าไว้ด้านหน้าหรือคล้องทิ้งชายไปด้านหลัง ใช้ห่มเฉียงแบบสไบเรียกว่าสะหว้ายแหล้งหรือเบี่ยงบ้าย
นุ่งผ้าซิ่นลายขวางยาวกรอมเท้าเรียกว่าซิ่นต่อตีนต่อแอว

องค์ประกอบของซิ่นมี ๓ ส่วนคือ

 หัวซิ่น ตัวซิ่น ตีนซิ่น ผ้าซิ่นแบบที่ใช้งานปกติเป็นตัวซิ่นที่ทอลายขวางเย็บตะเข็บเดี่ยว
สีของผ้าซิ่นจะย้อมด้วยสีจากพืชเป็นสีต่าง ๆ เช่น แดง ม่วง เป็นต้น และมีผ้าตีนสิ้น
คือเชิงผ้าซิ่นสีอื่นเช่นสีดำกว้างประมาณหนึ่งคืบมาต่อเข้ากับส่วนชาย
ส่วนผ้าที่นำมาต่อกับส่วนเอวแม้จะกว้างประมาณหนึ่งคืบแต่ก็มักใช้สีขาว
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนากี่กระตุกให้สามารถทอผ้าหน้ากว้างขึ้นในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ
คนจึงหันไปนิยมนุ่ง สิ้นตีนลวด
คือผ้าซิ่นที่ทอได้ตั้งแต่เชิงถึงเอวรวดเดียวโดยไม่มีการเย็บต่อเช่นที่ผ่านมา
และระยะนี้ยังเริ่มนิยมนุ่งซิ่นมีเชิงเป็น ลวดลายสลับสีซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมมาถึงปัจจุบันอีกด้วย  ทั้งนี้ในระดับผู้มีอันจะกินนั้น มักจะแต่งกายเลียนแบบเจ้านายทั้งในแง่รูปแบบเสื้อผ้าและทรงผมซึ่งเมื่อสามัญชนเห็นว่าสวยงามก็มักจะรับแบบอย่างไปแต่งบ้าง แต่เดิมนั้น หญิงสามัญชนชาวเชียงใหม่และตามชนบทอื่นๆ ไม่สวมเสื้อ แต่จะใช้ผ้าผืนยาว
คล้ายผ้าแถบ พันรอบอก หรือคล้องคอปล่อยชายปิดส่วนอก
หรือพาดไหล่ปล่อยชายทั้งสองข้างไปด้านหลัง แต่ผ้าด้านหน้าจะปิดคลุมทรวงอกหรือไม่ก็ได้  หรือจะห่มเฉียงที่เรียกว่าสะหว้ายแหล้งก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของผู้แต่ง
ถ้าหากอาศหนาวก็จะใช้ ผ้าทุ้ม อ่านว่า ผ้าตุ๊ม (ผ้าคลุมไหล่)
สำหรับเสื้อ เข้าใจว่าการสวมเสื้อคงจะเป็นความนิยมในระยะหลัง (ราวปลายรัชกาลที่ ๕)
เสื้อจะเป็นเสื้อที่ตัดเย็บจากผ้าทอด้วยมือ สีขาวตุ่น ซึ่งเป็นสีของฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง
รูปแบบของเสื้อมีหลายแบบคือ เสื้อคอกลม ตัวหลวม แขนกระบอกต่อแขนต่ำ ผ่าอกตลอด  ผูกเชือกหรือติดบ่าต่อมแต็บ (กระดุมแป๊บ) มีกระเป๋าทั้งสองข้าง เสื้อคอกลมตัวหลวม  แขนกระบอก ต่อแขนต่ำ ผ่าครึ่งอก ติดบ่าต่อมแต็บ

เสื้อชั้นใน

ถ้าเป็นผู้ใหญ่จะเป็นเสื้อคอกลมต่ำ เว้าแขน เย็บห้าตะเข็บ (ด้านหลังแยกเป็นสามเกล็ด)
เป็นเสื้อพอดีตัว เสื้อชั้นในไม่มีแขนเรียกว่าเสื้ออกหรือเสื้อบ่าห้อย
มีวิธีเย็บเหมือนกับเสื้อห้าตะเข็บ บางครั้งเมื่อแต่งตัวไปวัด
ผู้สูงอายุจะสวมเสื้ออกแล้วใช้ผ้าทุ้มห่มเฉียงบ่าอีกทีหนึ่ง
  เสื้อสำหรับเด็กหญิงสาว เสื้อชั้นในจะเป็นเสื้อ บ่าห้อย ซึ่งตัดเย็บต่างจากเสื้อห้าตะเข็บ
คือตัวหลวม จีบห่าง ๆ ทั้งด้านหน้าด้านหลังแล้วใช้ผ้ากุ๊นหรือต่อขอบตัวเสื้อด้านบน
ส่วนแขนใช้ผ้าผืนตรง กว้างประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง
หรืออาจจะใช้เส้นด้ายขึงให้มีขนาดเท่ากับแผ่นผ้า แล้วเย็บติดกับตัวเสื้อก็ได้

หมวก

ในแง่ของส่วนศีรษะนั้น เมื่อไปทำงานนอกบ้านแล้วชาวล้านนาจะทือกุบ (อ่าน”ตือกุบ”)
หรือ สุบกุบ คือ สวมหมวกตามลักษณะงาน
เช่นในการไปศึกก็จะทือ กุบเสิก ก็คือใส่หมวกปีกกว้างสำหรับออกศึก
เมื่อไปทำงานกลางแดดก็จะทือ กุบละแอ คือ สวมหมวกอย่างงอบปีกกว้าง หากหนาวนัก ทั้งเด็ก คนแก่และพระสงฆ์จะใส่ว่อมคือหมวกผ้าที่ไม่มีปีก
ส่วนผ้าโพกศีรษะผมที่เรียกว่าผ้าพอกหัวนั้น พบว่าผู้หญิงมักจะใช้เพื่อการกันแดดกันลม แต่ทั้งนี้บางเผ่าอาจมีตกแต่งผ้าโพกศีรษะให้มีลวดลายตกแต่งอย่างงดงาม
อันเป็นลักษณะเฉพาะกลุ่มก็มี และบางท่านอาจมีการแซมดอกไม้ไหวบนผ้าโพกอีกด้วย

การแต่งกายของชาวล้านนาในสมัยก่อน เรียบง่าย งดงาม

การแต่งกายยุคฟื้นฟูวัฒนธรรม – ปัจจุบัน

ชาวเชียงใหม่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมืองขึ้น
ซึ่งมีหลายรูปแบบตามเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนาในอดีต
เป็นการประยุกต์รูปแบบของเสื้อผ้าในยุคดั้งเดิมมาแต่งโดยพยายามรักษาความ
เป็นเอกลักษณ์ของชาวพื้นเมืองเชียงใหม่ไว้
ดังนั้นจึงได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบในรูปแบบการแต่งกายพื้นเมือง
โดยคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ มีรายละเอียดดังนี้

๑. เครื่องแต่งกายหญิง

แบบที่ ๑ เสื้อคอกลม แขนกระบอกต่อแขนต่ำ ผ่าอกตลอด ผูกเชือกหรือติดบ่าต่อมแต็บ มีกระเป๋าสองข้าง ส่วนผ้านุ่งจะเป็นซิ่นลายขวางต่อตีน ต่อเอวสีดำ
เฉพาะช่วงเอวจะต่อด้วยผ้าฝ้ายขาวอีกประมาณฝ่ามือ ปัจจุบันจะเป็นซิ่นตีนรวด
คือจะทอทั้งเชิงเอวครั้งเดียวกัน ไม่มีการเย็บต่อเหมือนที่ผ่านมา
และเชิงจะมีลวดลายสลับสีอีกด้วย
 แบบที่ ๒ เสื้อหญิงแบบคอกลม ตัวหลวม แขนกระบอกต่อแขนต่ำ ผ่าครึ่งอกติดกระดุมแป๊บ
แบบที่ ๓ เสื้อหญิงแบบคอกลม ตัวหลวม
เข้ารูปเล็กน้อยจับเกล็ดเอวด้านหน้าและหลังข้างละเกล็ดผ่าอกตลอด ติดกระดุมอัด
แขนเสื้อเป็นแขนกระบอกสั้นหรือยาว
แต่การต่อแขนจะต่อโดยการตัดเว้าตรงปุ่มไหล่แบบเสื้อปัจจุบัน

แบบที่ ๔ เสื้อคอกลมมีระบายตรงสาบเสื้อ ปลายแขนและชายนิยมใช้ผ้าป่านขาวหรือแพรสี ส่วนเสื้อชั้นในจะเป็นเสื้อคอกระเช้า

๒. เครื่องแต่งกายชาย

กำหนดไว้ ๒ แบบคือ

แบบที่ ๑ เสื้อคอกลม แขนสั้นหรือแขนยาว ผ่าหน้าตลอด ผูกเชือก มีกระเป๋าปะทั้ง ๒ ข้าง
สีของผ้าเป็นสีขาวตุ่นของใยฝ้าย หรือแบบย้อมครามที่เรียกว่า หม้อห้อม

แบบที่ ๒ เสื้อคอกลมผ่าครึ่งอก ติดบ่าต่อมหอยสองเม็ด มีกระเป๋าหรือไม่มีก็ได้
ส่วนกางเกงชาย จะมีรูปแบบคล้ายกางเกงจีน มีทั้งเตี่ยวสะดอขาสั้น (ครึ่งหน้าแข้ง)
และ เตี่ยวยาวขายาวถึงข้อเท้า เรียกว่า เตี่ยวยาว ทั้งสองแบบนี้ ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายทอมือ

สำนักวัฒนธรรมเชียงใหม่

การแต่งกายของแม่อุ้ยที่งดงาม มีเสน่ห์ และยังมีให้เห็นในเชียงใหม่

การแต่งกายสมัยปัจจุบันที่ได้รับการฟื้นฟู

 

การแต่งกายของพี่น้องไตลื้อ

   การแต่งกายของชนชาวล้านนา มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังบ่งบอกถึงความเป็นล้านนาได้เป็นอย่างดีจึงอยากวิงวอนขอพี่น้องชาวล้านนาทั้งปวงได้โปรดหวงแหนรูปแบบการแต่งกายที่ดีงามและมีเสน่ห์แบบนี้ให้อยู่คู่กับแผ่นดินล้านนาไปตราบนานเท่านาน  อย่าปล่อยให้การไหลบ่าของวัฒนธรรมการแต่กายของถิ่นอื่นเข้ามามีบทบาทจนมากเกินไป   อย่างน้อยในช่วงเวลาที่สำคัญ เช่น ไปวัดทำบุญ ร่วมงานสำคัญต่างๆ รวมทั้ง เทศกาลต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ยี่เป็ง ไหว้สาป๋าระมีพระธาตุเจ้าดอยสุเทพ  เราทั้งหลายควรร่วมใจกันแต่งเมืองนุ่งเมือง เพื่อความยิ่งใหญ่ในเชิงวัฒนธรรมของพวกเรา ชาวล้านนา

 

 

 

 

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can always preview any post or edit it before you share it to the world.